Thursday, August 27, 2009

Skeletal system 1


ระบบโครงกระดูก (skeletal system) คือระบบทางชีววิทยาที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ระบบโครงกระดูกภายนอก (exoskeleton) พบในสัตว์ประเภทแมลง หรือหอย เป็นโครงสร้างแข็งภายนอกปกป้องร่างกาย ระบบโครงกระดูกภายใน (endoskeleton) พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่นกระดูกมนุษย์ หรือกระดูกในสัตว์ประเภทปลาที่เรียกว่า ก้าง และ ระบบโครงกระดูกของเหลว (hydrostatic skeleton) เป็นระบบโครงสร้างที่ใช้ของเหลว เช่น เลือด เป็นส่วนประกอบ พบตามสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมงกะพรุน

Integlumentary system 2


ระบบห่อหุ้มร่างกาย ประกอบด้วยเนื้อเยื่อผิวหนัง ผม ขน เล็บ ต่อมน้ำนม ต่อมเหงื่อ และระบบประสาทที่ผิวหนัง มีรายละเอียดดังนี้คือ ผิวหนัง(Cutaneous Membrane หรือ Skin) ทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกายมีพื้นที่ประมาณ 1.17 - 1.95 ตารางเมตร หนักประมาณ 3 กิโลกรัม ใช้เลือดหล่อเลี้ยงประมาณ 1 ใน 3 ของเลือดในร่างกาย เมื่อเราเจริญเติบโตขึ้นผิวหนังจะเจริญขึ้นตามตัว ผิวหนังของเรามีลักษณะยืดหยุ่นแต่เมื่อเราแก่ตัวลงผิวหนังจะคลายความยืดหยุ่นลง ผิวหนังประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้นคือ 1. เอพิเดอมิส (Epidermis) หรือหนังกำพร้า เป็นชั้นที่อยู่นอกสุดของผิวหนังประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิว มีลักษณะบางมากประมาณ 0.04 - 1.6 มม. ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างแบน ๆ หนังกำพร้าส่วนที่ไม่มีเส้นเลือดผ่านเป็นส่วนของเซลล์ที่เกือบจะตายแล้วมีเลือดมาเลี้ยงน้อยมาก บางตำแหน่งของหนังกำพร้าจะมีชั้นของเซลล์หนามากได้แก่ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางตำแหน่งบางมากได้แก่ หนังตา ชั้นที่ลึกที่สุดของหนังกำพร้าจะทำหน้าที่สร้างเม็ดสี (Pigment)ได้แก่ เมลานีน (Malanin) ทำให้ร่างกายมีผิวสีดำหรือขาว คนผิวคล้ำจะมีเมลานีนมาก คนผิวขาวจะมีเมลานีนน้อย เมื่อร่างกายถูก แดดจัด ๆ จะสร้างเมลานีนมากขึ้น ทำให้ผิวหนังเกรียมหรือมีสีน้ำตาล เซลล์ชั้นบนสุดจะเป็นเซลล์ที่ตายแล้วและลอกหลุดเป็นขี้ไคล และเซลล์ข้างล่างจะสร้างเพิ่มขึ้นมาแทนที่อยู่เสมอ 2. เดอมิส (Dermis) หรือหนังแท้ หนากว่าชั้นเอพิเดอมิสถึง 15-40 เท่า ประกอบด้วยเส้นใยของเนื้อเยื่อ เซลล์ไขมัน เส้นเลือดฝอย ท่อน้ำเหลือง อวัยวะรับความรู้สึก เส้นประสาท ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำมัน และเส้นขนจำนวนมาก ถ้าถูกมีดบาดถึงชั้น เดอมิสจึงจะทำให้เลือดไหล ใต้ผิวหนังแท้ลงไปจะมีเซลล์สำหรับเก็บสะสมไขมันอยู่มาก มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันประสานกันหลวม ๆ ชั้นนี้ยังนับเป็นส่วนหนึ่งของ หนังแท้ ถัดจากชั้นเดอมิสจะเป็นชั้นไขมันซึ่งใช้ประโยชน์ คือ เป็นเกราะป้องกันความสะเทือน เมื่อเรามีอายุมากขึ้นชั้นไขมันจะยุบตัวลงหายไป ส่งผลให้ร่างกายมีผิวหนังเหี่ยวย่น ดังนั้นคนสูงอายุที่ผอมร่างกายจะเหี่ยวย่นมากกว่าคนสูงอายุที่มีร่างกายอ้วนท้วน ปัจจุบันมีการฉีดสารไกลโคเจนเข้าใต้ผิวหนังเพื่อให้ผิวหนังหายเหี่ยวย่น สารไกลโคเจนนี้นักวิทยาศาสตร์สังเคราะห์มาจากสารธรรมชาติ แต่ผิวหนังที่ฉีดสารไกลโคเจนเข้าไปจะคงสภาพอยู่ได้เพียง 5 - 6 เดือนเท่านั้น เพราะสารไกลโคเจนจะสูญสลายไป การที่นำสารเข้าสู่ร่างกาย แม้จะเป็นสารธรรมชาติอาจทำให้ร่างกายแพ้เกิดอันตรายได้ ลายนิ้วมือของคนซึ่งมีลักษณะเป็นร่องจะมีลักษณะแตกต่างกัน ทุกคนที่เกิดมาไม่มีลายนิ้วมือซ้ำกันเลย เพราะเป็นแบบของ หนังแท้ที่อยู่ในชั้นเดอมิส แม้ผิวหนังถูกทำลายแต่ลายนิ้วมือจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ประโยชน์ของลายนิ้วมือคน คือ ใช้พิสูจน์บุคคลได้ ในปัจจุบันนำมาใช้แทนบัตรคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้การพิมพ์ลายนิ้วมือแทน เรียกว่า Smart Card ผมและขน เกิดจากเซลล์ในชั้นเอพิเดอมิสเจริญไปถึงชั้นเดอมิส มีลักษณะเป็นถุงเซลล์ที่ก้นถุงจะมีการแบ่งเซลล์ เซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นจะตายตั้งแต่อยู่ในถุงซึ่งจะถูกดันขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยเซลล์ที่เกิดใหม่ ผมและขนจึงเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ลักษณะของเส้นผมจะเหยียด ตรงหรือหยิกขึ้นอยู่กับรูปร่าง ลักษณะของต่อมรากผม ต่อมรากผมจะสร้างเมลานีนสีแดง ดำ ซึ่งทำให้เส้นผมคนเรามีสีต่างๆ กันตาม ปริมาณเมลานีนที่ต่อมรากผมสร้างขึ้น โดยปกติแล้วผมของคนเราจะยาวประมาณสัปดาห์ละ 2 มม. เมื่อผมงอกออกมาพ้นผิวหนัง จะตาย ดังนั้นเมื่อเราตัดผมเราจึงไม่รู้สึกเจ็บ แต่ถ้าเราดึงผมและขนจะรู้สึกเจ็บเพราะก้นถุงอยู่ติดกับประสาทที่ผิวหนัง ผมและขน จะดกหรือไม่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของคน เล็บ เล็บมือจะงอกประมาณ .05 มม. ต่อ 1 สัปดาห์ เล็บก็เช่นเดียวกับผมคือ ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้วและมีโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า เคราติน (Keratin) ที่โคนเล็บจะมีรอยสีขาวเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นส่วนเล็บที่ติดกับผิวหนังใต้เล็บอย่างหลวม ๆ จมูกเล็บเป็นที่หนังกำพร้าปกคลุมโคนเล็บในตำแหน่งที่เล็บงอกออกมา ร่องระหว่างเล็บกับผิวหนังจะเป็นด่านแรกที่ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย เล็บจึงมักสกปรกเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละอองต่าง ๆ เราต้องทำความสะอาดด้วยความระมัดระวังไม่ให้เนื้อบริเวณจมูกเล็บฉีกขาด และไม่ควรตัดหนังที่ข้างจมูกเล็บออก เล็บที่เป็นเงางามสีชมพูเป็นข้อบ่งชี้ของคนมีสุขภาพดีได้อย่างหนึ่ง ต่อมน้ำมัน (Sebaceous Gland) ต่อมน้ำมันเป็นเซลล์ที่เปลี่ยนรูปร่าง ทำหน้าที่ขับสารบางอย่างออกมาจากเซลล์ต่อมน้ำมันหรือต่อมไขมันประกอบด้วยเซลล์ หลายเซลล์มารวมกัน ประกอบด้วยถุง (Sac) และมีท่อเปิดไปสู่ผิวหนังของรูขน ต่อมน้ำมันอยู่ในชั้นผิวหนังแท้ทำหน้าที่ปกคลุม ผิวหนังให้อ่อนนุ่ม ชุ่มมัน คนที่ผิวหนังมัน ผิวหนังมักจะเหี่ยวแห้งช้า แต่ถ้ามีที่ใบหน้ามากเกินไปทำให้ติดเชื้อโรคและเป็นสิวง่าย ต่อมเหงื่อ (Sweat Gland) ต่อมเหงื่อประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์มารวมกัน ประกอบด้วยถุงและท่อเหงื่อ (Sweat Duct) ซึ่งเปิดออกที่ผิวหนังต่อมเหงื่อประกอบด้วยน้ำ เกลือแร่ และยูเรีย ต่อมเหงื่อมีมากที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เหงื่อมักออกขณะอากาศร้อนอบอ้วน เมื่อเหงื่อออกและ ลมพัดจะเกิดการระเหยของเหงื่อที่ผิวกายจึงทำให้ร่างกายเย็นสบาย ในร่างกายมีต่อมเหงื่อประมาณ 2 ล้านต่อม และเหงื่อจะออกมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับศูนย์ควบคุมอุณหภูมิที่สมอง ระบบประสาทที่ผิวหนัง (The Cutaneous Sense) ระบบประสาทจะกระจายอยู่เป็นจุดๆ จุดเหล่านี้จะมีความรู้สึกเฉพาะต่อสิ่งที่มาสัมผัสคือ ความรู้สึกร้อน เย็น ความเจ็บปวด ความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้จะมีปริมาณไม่เท่ากัน คือความรู้สึกเจ็บมากที่สุด ความรู้สึกสัมผัสรองลงมา ความรู้สึกเย็นมากเป็นลำดับสาม ส่วนความรู้สึกร้อนจะน้อยที่สุด เนิ้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตร ประกอบด้วยขน 1 เส้น ต่อมน้ำมัน 15 ต่อม เซลล์ 3 ล้านเซลล์ หลอดเลือดยาว 272 เซนติเมตร ต่อมเหงื่อ 100 ต่อม เส้นประสาทยาว 360 เซนติเมตร เซลล์รับความรู้สึกที่ปลายประสาท 3,000 เซลล์ ปลายประสาทรับแรงกด 25 อัน ปลายประสาท รับความรู้สึกเจ็บปวด 200 อัน ปลายประสาทรับความเย็น 2 อัน ปลายประสาทรับความรู้สึกร้อน 12 อัน การบำรุงรักษาระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบห่อหุ้มร่างกายมีความสำคัญและสะท้อนถึงสุขภาพในร่างกาย ถ้าร่างกายมีสุขภาพดีจะส่งผลให้ผิวพรรณดีไปด้วย แม้โดย พื้นฐานเรามีผิวพรรณดีอยู่แล้ว แต่ยังมีความจำเป็นต้องบำรุงรักษาผิวพรรณให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพง ๆ วิธีการบำรุงรักษาผิวพรรณ คือ 1. ชำระล้างร่างกาย และคราบสบู่ให้สะอาด และใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กขัดขี้ไคลจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี 2. ผิวหนังส่วนใดที่แห้ง เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือจุดรับน้ำหนัก เช่น หัวเข่า ข้อศอก ควรเอาใจใส่ขัด นวดด้วยครีม หรือน้ำมัน 3. ใบหน้าที่เป็นสิวง่ายให้รักษาความสะอาด ไม่ควรบีบ แกะ รับประทานอาหารที่ไม่มันจัด หวานจัด รักษาระบบขับถ่ายให้ ถ่ายเป็นประจำ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่พอเพียง 4. เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน รองเท้า ถุงเท้า ควรทำความสะอาดเป็นประจำสม่ำเสมอ 5. ถ้าเป็นโรคผิวหนัง ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษา 6. ควรรับประทานอาหารรสไม่จัด ไม่ควรดื่มน้ำหวาน น้ำชา กาแฟ ควรรับประทานผัก ผลไม้ และอาหารให้ครบ 5 หมู่ 7. ไม่ควรถูกแดดจัดนาน ๆ ผู้ที่ทำงานในที่ร่มควรให้ร่างกายได้รับแสงแดดในช่วงเช้าบ้าง 8. ควรแปรงผมเป็นประจำทำให้ผมเป็นเงางาม ถ้าผมร่วงมากอาจเกิดจากโรคหรือความเครียดให้ปรึกษาแพทย์

Integumentary system 1


ส่วนประกอบของระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบห่อหุ้มร่างกายประกอบด้วยเซลล์ที่ปกคลุมร่างกาย คือ ผิวหนัง ขน เล็บ รวมทั้งต่อมน้ำมัน ต่อมเหงื่อ ระบบประสาทที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ระบบห่อหุ้มร่างกายทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ หน้าที่ชองระบบห่อหุ้มร่างกาย คือ 1. ป้องกันอันตราย (Protection) โดยปกคลุมอยู่ชั้นนอก กันน้ำได้ เมื่อเกิดบาดแผลจะหายเป็นปกติได้เองป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้รับอันตรายจากเชื้อโรค การบาดเจ็บ และแสงอัลตราไวโอเลต รวมทั้งทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทที่เกี่ยวข้องเพื่อรับสัญญาณความรู้สึกและอันตรายจากภายนอกแล้วส่งไปยังสมอง 2. ช่วยป้องกันน้ำไม่ให้ระเหยออกจากร่างกายมากเกินไป ปรับระดับความร้อนในร่างกายให้คงที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส ต่อมเหงื่อ เส้นเลือดฝอยและขนที่ผิวหนังจะช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ถ้าอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น ต่อมเหงื่อจะขับน้ำออกมากขึ้นการระเหยของน้ำบนผิวหนังจะทำให้อุณหภูมิลดลง หรือเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น เส้นเลือดฝอยจะขยายใหญ่ ทำให้มีเลือดไหลผ่านผิวหนังมากขึ้น เมื่อผิวหนังสัมผัสกับอากาศภายนอกส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายต่ำลง เส้นเลือดฝอยจะหดตัว ทำให้เกิดอาการขนลุก และรู้สึกอบอุ่นขึ้น 3. ต่อมน้ำมันทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น ช่วยป้องกันผิวหนังแตก ต่อมเหงื่อช่วยขับน้ำของเสียออกจากร่างกาย ต่อมน้ำนมทำหน้าที่สร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน

excretory system 2


การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกาย และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย ไต ตับ และลำไส้ เป็นต้น

ไต มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกาย อยู่ด้านหลังของช่องท้อง ลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ โครงสร้างของระบบขับถ่าย ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ไตของคนมี 1 คู่ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง การดูแลรักษาระบบขับถ่าย เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย คือ อาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และควรดื่มน้ำให้มาก การกำจัดของเสียออกทางไต ไต เป็นอวัยวะที่ลักษณะคล้ายถั่ว มีขนาดประมาณ 10 กว้าง 6 เซนติเมตร และหนาประมาณ 3 เซนติเมตร มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆ ไตมี 2 ข้างซ้ายและขวา บริเวณด้านหลังของช่องท้อง ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว บริเวณส่วนที่เว้า เป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังมีกระเพาะปัสสาวะ โครงสร้างไต ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น หน่วยไต ชั้นนอก เรียกว่า คอร์ดเทกซ์ ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา ภายในไตประกอบด้วย หน่วยไตมีลักษณะเป็นท่อขดอยู่

หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก วันหนึ่งๆ เลือดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไต ประมาณในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตที่ 1200 มิลลิลิตร หรือวันละ 180 ลิตร ไตจะขับของเสียมาในรูปของน้ำปัสสาวะ แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายจะรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน 1 วัน คนเราจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1 – 1.5 ลิตร การกำจัดของเสียออกทางผิวหนัง ในรูปของเหงื่อ เหงื่อประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนัง โดยผ่านต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง ต่อมเหงื่อมี 2 ชนิด คือ 1. ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ทั่วผิวหนังในร่างกาย ยกเว้นท่าริมฝีปากและอวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมเหงื่อขนาดเล็กมีการขับเหงื่อออกมาตลอดเวลา เหงื่อที่ออกจากต่อมขนาดเล็กนี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 99 สารอื่นๆ ร้อยละ 1 ได้แก่ เกลือโซเดียม และยูเรีย 2. ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ จะอยู่ที่บริเวณ รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก อวัยวะเพศบางส่วน ต่อมนี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรกต่อมนี้จะตอบสนองทางจิตใจ สารที่ขับถ่ายมักมีกลิ่น ซึ่งก็คือกลิ่นตัวเหงื่อ จะถูกลำเลียงไปตามท่อที่เปิดอยู่ ที่เรียกว่า รูเหงื่อ
การกำจัดของเสียออกทางลำไส้ใหญ่ กากอาหารที่เหลือกจากการย่อย จะถูกลำเลียงผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารและจะดูดซึม สารอาหารที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส ออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารเหนียวและข้นจนเป็นก้อนแข็ง

Excretory System 1


ระบบขับถ่าย(Excretory System) มีหน้าที่ขจัดและกรองของเสียออกจากร่างกายโดยไตทำหน้าที่ขจัดน้ำ เกลือแร่ ยูเรียและสารพิษ ต่าง ๆ ในรูปของปัสสาวะ ผิวหนังทำหน้าที่ขจัดน้ำและเกลือแร่ ออกมาในรูปของเหงื่อ ลำไส้ใหญ่ขจัด กากอาหารออกทางทวารหนักในรูปของอุจจาระ อวัยวะที่ใช้ในระบบขับถ่าย คือ ไต กระเพาะปัสสาวะ ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่

โดยทั่วไป ประกอบด้วย สองส่วนหลักคือ
1. Parenchyma (เนื้อต่อม) ประกอบด้วย เซลล์เนื้อผิวชนิดที่ เรียกว่า secretory cells และเป็นเซลล์สำคัญที่สร้างฮอร์โมน ซึ่งเซลล์เหล่านี้ อาจเรียงตัวเป็นกลุ่ม (clumps) ขดเป็นกลุ่ม (cord) หรือแผ่น (plates) โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด fenestrated หรือ sinusoid capillaries และเส้นน้ำเหลือง จำนวนมากแทรก เพื่อทำหน้าที่หล่อเลี้ยง และลำเรียงฮอร์โมน ออกจากเนื้อต่อมเข้าสู่วงจรไหลเวียน ของกระแสเลือดไปกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ ตามเป้าหมาย (target organs) ที่อยู่ห่างไกล
2. Stroma (โครงร่างพยุงเนื้อต่อม) ประกอบด้วย เนื้อประสานโดยให้เป็นเปลือกหุ้ม และโครงร่างให้เซลล์ของเนื้อต่อมเกาะ ในต่อมไร้ท่อบางชนิดพบมีส่วน ของเปลือกหุ้มยื่นเข้าไปแบ่งเนื้อต่อม ออกเป็นส่วน เรียกว่า Trabaeculae
ต่อมไร้ท่อแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ต่อมที่พบอยู่เดี่ยว ได้แก่
I. ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland หรือ Hypophysis) มีเปลือกหุ้มที่ประกอบด้วย เนื้อประสาน เนื้อต่อมแบ่งย่อยออกเป็น 4 ส่วนคือ
1. Pars Anterior (Pars distalis) ส่วนนี้มีลักษณะคล้ายต่อมประกอบด้วย เซลล์ 2 ชนิดคือ
a) Chromophils เป็นเซลล์ที่ชอบติดสี แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด (ศึกษาจากการ ย้อมด้วย H&E ) 1. Acidophils เซลล์ชนิดนี้ cytoplasm ติดสีชมพู พบส่วนใหญ่บริเวณ - ส่วนกลางของ pars distalis 2. Basophils เป็นเซลล์ที่ cytoplasm ติดสีน้ำเงินเข้มและมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์ ชนิดแรก พบบ่อยบริเวณรอบนอกของ pars distalis
b) Chromophobe เป็นเซลล์ที่ไม่ชอบติดสี มีขนาดเล็กที่สุดเล็ก ภายใน cytoplasm ไม่บรรจุ granules มักพบเป็นกลุ่มเห็นแต่เฉพาะนิวเคลียส 2. Pars Intermedia มีลักษณะเป็นกลุ่มของถุงน้ำ (colloid-filled follicles) เปลือกของถุงน้ำดาดด้วยเซลล์ชั้นเดียวขนาดเล็กติดสีน้ำเงินเข้ม 3. Pars Nervosa and Infundibular Stalk ส่วนนี้มีลักษณะ เหมือนเนื้อประสาท เซลล์ที่พบใน pars nervosa คือ pituicytes มีลักษณะคล้าย neuroglial cells (เซลล์พยุงของเซลล์ประสาท) นอกจากนั้นพบ unmyelinated nerve fibers ที่มีบริเวณส่วนปลาย ขยายออกและบรรจุ neurosecretions ที่เรียกว่า Herring bodies
4. Pars Tuberalis ส่วนนี้ประกอบด้วยเซลล์ทรงลูกเต๋าที่เรียงตัว ม้วนเป็นขด อาจจะพบมีลักษณะเป็นถุงน้ำที่บรรจุ colloid
II. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) มีเปลือกหุ้มและยื่นให้เป็น septa แทรก เข้าไปในเนื้อต่อม เซลล์ของเนื้อต่อมมีลักษณะเป็น colloid-filled follicles โดยเปลือกหุ้ม ถุงน้ำ ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ
1. Follicular cells เป็น simple cuboidal epithelium (ส่วนใหญ่) สร้างและหลั่ง iodine-containing hormone T3 และ T4
2. Parafollicular cells (clear cells) แทรกอยู่กับ follicular cells สร้างและหลั่ง Calcitonin
III. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) มีเปลือกหุ้มและ septa ลักษณะ ของพวกเซลล์เรียงตัวเป็นแผ่น ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด
1. Chief cells พบจำนวนมาก พวกเซลล์มีขนาดเล็กแต่มีนิวเคลียสค่อนข้างใหญ่
2. Oxyphils พบจำนวนน้อย พวกเซลล์มีขนาดใหญ่ cytoplasm ติดสีกรด (ชมพู) และ มักอยู่กันเป็นกลุ่มๆ
IV. ต่อมหมวกไต (Suprarenal หรือ Adrenal gland) มีเปลือกหุ้มเนื้อต่อม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพราะมีแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน คือ
1. Cortex เนื้อต่อมส่วนนอกกำเนิดมาจาก mesodermal cells แบ่งย่อย ออกเป็น 3 บริเวณตามลักษณะของขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวของพวกเซลล์ โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด sinusoidal capillaries แทรกได้แก่
a) Zona Glomerulosa พบอยู่ใต้เปลือกที่หุ้มการเรียงตัวของเซลล์ มี ลักษณะขดเป็นกลุ่ม คล้าย glomerulus ของเนื้อไต b) Zona Fasciculata พบอยู่ถัดลงมา เนื้อต่อมส่วนนี้หนาที่สุด เซลล์รียงตัว เป็นแท่ง และมีลักษณะรูปทรงลูกเต๋า ภายในเซลล์ใสบางครั้งเรียกเซลล์ชนิดนี้ว่า spongiocyte c) Zona Reticularis พบอยู่ด้านในสุดของเนื้อต่อมส่วนนอก ประกอบด้วย เซลล์ขนาดเล็ก ติดสีเข้ม และต่อเนื่องกันคล้ายร่างแห
2. Medulla เนื้อต่อมส่วนในสุดมีแหล่งกำเนิดมาจาก neural crest cells ประกอบด้วยเซลล์ขนาดใหญ่ ภายใน cytoplasm บรรจุ granules เรียกเซลล์ชนิดนี้ว่า chromaffin cells นอกจากนั้นยังพบ autonomic ganglion cells ขนาดใหญ่ ลักษณะสำคัญของเนื้อต่อมส่วนนี้คือพบว่ามี เส้นเลือดดำขนาดใหญ่บรรจุอยู่
V. ต่อมไพเนียล (Pineal gland) เปลือกที่หุ้มมาจาก pia mater มี septa แทรกในเนื้อต่อม ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ
1. Pinealocytes เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่
2. Neuroglial cells เป็นเซลล์ขนาดเล็กมีนิวเคลียสติดสีเข้มกว่าเซลล์ชนิดแรก ลักษณะสำคัญในเนื้อต่อมไพเนียลคือพบ Brain Sand (corpora arenacea) มีลักษณะเป็น calcified accretions ติดสีม่วงเข้ม

Endocrine System 1


4. ระบบต่อมไร้ท่อ(Endocrine System) มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกาย ประกอบด้วยต่อมไร้ท่อทุกชนิดที่อยู่ใน ร่างกาย เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไต รังไข่ อัณฑะ

Wednesday, August 26, 2009

Circulatory System 2


ระบบหมุนเวียนของเลือดในคน
ในร่างกายมนุษย์มีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนอยู่ในเส้นเลือด การสูบฉีดโลหิตของหัวใจ ทำให้เกิดแรงดันให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และไหลกลับคืนสู่หัวใจ โดยหัวใจของคนเราตั้อยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างค่อนมาทาด้านซ้ายชิดผนังทรวงอก แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ห้องบนสองห้อง มีผนังบาง เรียกว่า เอเทรียม ( atrium ) ส่วนสองห้องล่างมีขนาดใหญ่กว่าและผนังหนา เรียกว่า เวนทริเคิล ( ventricle ) ระหว่างห้องบนกับห้องล่างทั้งสองซีกจะมีลิ้นหัวใจ ( value ) คอยเปิด- ปิด เพื่อกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
** หัวใจของคนเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่มิได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของสมอง **** หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มี 4 ห้อง ของสัตว์ครึ่งบกครึ่น้ำมี3 ห้อง ( ยกเว้นจระเข้ มี 4 ห้อง ) หัวใจปลามี 2 ห้อง หัวใจของสัตว์ปีก มี 4 ห้อง **

Circulatory System


มีหน้าที่นำสารต่าง ๆ ไปส่งทั่วร่างกาย เช่น สารอาหาร ก๊าซต่าง ๆ เกลือแร่ ฮอร์โมน และรับของเสียส่งออกนอกร่างกายโดยลำเลียงไปตามเส้นเลือด ภายในเลือดประกอบ ไปด้วยส่วนที่เป็น ของเหลวเรียกว่าพลาสมา ทำหน้าที่ลำเลียงเกลือแร่ ฮอร์โมน แอนติบอดี สารอาหารต่าง ๆ ไปยัง เซลล์ต่าง ๆ และรับของเสียงจากเซลล์ไหลกลับไป ตามท่อน้ำเหลืองเรียกว่าน้ำเหลือง ส่วนเลือดที่เป็น ของแข็งเรียกว่าเกล็ดเลือด ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผ

Respiratory 2

โรคระบบหายใจเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยอันดับหนึ่งของผู้ป่วยเด็ก ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ โดยส่วนหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการเรื้อรัง เช่น มีน้ำมูกเป็นๆหายๆ ไอบ่อย หอบบ่อย หรืออาจเป็นโรคซึ่งต้องการการดูแลรักษาแบบองค์รวม และต่อเนื่อง ได้แก่้ โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรังซึ่งต้องการความช่วยเหลือทางออกซิเจน มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจจากโรคอื่นๆ เช่น โรคทางระบบประสาท ซึ่งเด็กกลุ่มดังกล่าวควรได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้จากการระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่มากขึ้นในปัจจุบัน เช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ ผู้ปกครองส่วนมากมีความกังวลและต้องการคำแนะนำ ตลอดจนการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านปัจจุบันศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบหายใจเด็ก พยาบาลเฉพาะทางเด็ก นักกายภาพบำบัด และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ซึ่งสามารถทำงานร่วมกัน เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดคลินิกระบบหายใจเด็กบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคระบบหายใจเด็กทุกชนิด ได้แก่• โรคปอดติดเชื้อ ปอดอักเสบแบบรุนแรง ปอดอักเสบที่เป็นซ้ำ
• โรคปอดเรื้อรังในเด็ก (bronchopulmonary dysplasia)
• โรคความผิดปกติของสรีระและกายวิภาคของระบบทางเดินหายใจ
• โรคหอบหืด (asthma)
• วัณโรคในเด็ก (tuberculosis)
• ภาวะผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจที่พบร่วมในโรคอื่น เช่น ภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
• ปัญหาการหายใจขณะนอนหลับ เช่น ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA)
• การดูแลและบำบัดรักษาด้วยออกซิเจน
• การให้การดูแลด้วยเครื่องมือให้ความชื้นและการบำบัดด้วยฝอยละออง
• การดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีท่อเจาะคอ
• การให้คำปรึกษาและการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางระบบหายใจที่บ้าน
• การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบหายใจ• การให้บริการตรวจวินิจฉัยรักษาด้วยการส่องกล้องปอด
• การตรวจสมรรถภาพปอดเด็ก
• การตรวจการนอนหลับในเด็กที่มีปัญหาการหายใจขณะหลับ เช่น polysomnogram, overnight pulse oximeter เป็นต้นผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครองจะได้รับการดูแลโรคระบบหายใจเด็กแบบองค์รวม ได้รับการตรวจวินิจฉัยตลอดจนการดูแลรักษาโรคระบบหายใจเด็กอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองเพื่อให้การดูแลรักษาระบบหายใจเด็กมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้ป่วยได้รับการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ตลอดจนได้รับการบริการเฉพาะทางอย่างดีเยี่ยมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

Respiratory 1


ระบบหายใจ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนี้ประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่ จมูก หลอดลม และปอด
3.1 จมูก เป็นอวัยวะส่วนต้นของระบบหายใจ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศ ช่วยกรองฝุ่นละออง และเชื้อโรคบางส่วนก่อนอากาศจะผ่านไปสู่อวัยวะอื่นต่อไป
3.2 หลอดลม เป็นท่อกลวงเชื่อมต่อกับขั้วปอดทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศเพื่อนำไปสู่ปอด
3.3 ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของระบบหายใจ ปอดมี 2 ข้าง อยู่ในทรวงอกด้านซ้ายและขวา ปอดแต่ละข้างประกอบด้วยขั้วปอด ซึ่งจะแตกแขนงออกเป็นหลอดเล็กๆ เรียกว่า แขนงขั้วปอด ที่ปลายของแขนงขั้วปอดจะพองออกเป็นถุงลมเล็กๆ มากมาย สำหรับเป็นที่แลกเปลี่ยนแก๊ส เรียกว่า ถุงลมปอด


นอกจากอวัยวะที่กล่าวมาแล้ว การทำงานของระบบหายใจยังต้องอาศัยกล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อกะบังลมทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการหายใจเข้าและหายใจออก เมื่อเราหายใจเข้า กล้ามเนื้อซี่โครงจะบีบตัวและขยายออก กล้ามเนื้อที่กะบังลมจะหดตัวเหยียดตรง ทำให้ช่องอกมีที่ว่างมากขึ้น ขณะเดียวกันอากาศก็จะผ่านเข้าสู่ช่องจมูก แล้วเข้าสู่หลอดลมลงไปที่ปอดแต่ละข้าง แก๊สออกซิเจนที่อยู่ในอากาศจะซึมออกจากถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือด ขณะเดียวกันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะซึมออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ถุงลม ปอดทำให้อากาศในถุงลมมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อที่ซี่โครง กะบังลมและกล้ามเนื้อช่องท้อง คลายตัวกลับสู่สภาพเดิม ทำให้บริเวณช่องอกแคบลง แล้วออกจากร่างกายทางช่องจมูก เป็นลมหายใจออก

Digestive2


ระบบย่อยอาหาร(Digestive System) มีหน้าที่ย่อยโมเลกุลของอาหารที่ใหญ่ ๆ ให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กจนสามารถดูดซึมได้ เพื่อให้ร่างกายสามารถนำอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ การย่อยอาหารเริ่มตั้งแต่ฟันมีหน้าที่บดอาหารมีลิ้นช่วยเกลี่ยอาหารและรับรสอาหาร ต่อมผลิตน้ำลายจะสร้างน้ำลายมาช่วยย่อยแป้งให้เป็น น้ำตาลมอลโทส อาหารจะถูกส่ง ต่อลงไปตามหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะย่อย ต่อโดยการบีบตัวปล่อยน้ำย่อยและกรดออกมาทำลายเชื้อโรค อาหารจะถูกส่งต่อไป ยังลำไส้เล็ก ซึ่งลำไส้เล็ก จะย่อยให้อาหารมีโมเลกุลเล็กที่สุดเพื่อให้สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย โดยน้ำตาลทุกชนิดจะถูกย่อยเป็น กลูโคส ไขมันจะถูกย่อยเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล ส่วนโปรตีนจะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโน

Digestive1


ส่วนประกอบ
1. อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร ได้แก่
1.1 ปากและโพรงปาก (Mouth and Mouth Cavity) ประกอบด้วย
- ฟัน
- ลิ้น
- ต่อมน้ำลาย1.2 คอหอย (Pharynx)
1.3 หลอดอาหาร (Esophagus)
1.4 กระเพาะอาหาร (Stomach)
1.5 ลำไส้เล็ก (Small Intestine)
1.6 ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine)
1.7 ไส้ตรง (Rectum)
1.8 ทวารหนัก (Anus)
2. อวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร แต่ไม่ใช่ทางเดินอาหารได้แก่
2.1 ต่อมน้ำลาย (Salivary Gland)
2.2 ตับ (Liver) และถุงน้ำดี (Gall Bladder)
2.3 ตับอ่อน (Pancreas

What's on


ระบบต่างๆที่มีในร่างกายได้แก่

1. ระบบย่อยอาหาร

2. ระบบหายใจ

3. ระบบหมุนเวียนโลหิต

4. ระบบขับถ่าย

5. ระบบกล้ามเนื้อ

6. ระบบสืบพันธุ์

7. ระบบประสาท

8. ระบบห่อหุ้มร่างกาย

9. ระบบต่อมไร้ท่อ

10. ระบบกระดูก

My Body


ร่างกายของเราประกอบขึ้นจากระบบต่างๆหลายๆระบบ
ระบบต่างๆเหล่านั้นก็ประกอบจากอวัยวะที่แตกต่างกันแล้วมาทำงานร่วมกัน
อวัยวะต่างๆก็เกิดจากกลุ่มเซลล์ที่มาอยู่รวมกัน
กลุ่มเซลล์ต่างๆก็ประกอบขึ้นมาจากอะตอมเล้กๆทั้งสิ้น